Posted on

วิตามินคืออะไรจำเป็นต่อร่างกายอย่างไร?

วิตามินคือสารประกอบประกอบอินทรีย์ที่ร่างกายต้องการในปริมาณเพียงเล็กน้อยเพื่อให้ร่างกายของเราทำงานได้เป็นปกติ วิตามินโดยส่วนใหญ่จะต้องได้รับจากอาหารที่กินเข้าไป

เนื่องจากร่างกายของมนุษย์ไม่สามารถสร้างวิตามินเองได้ หรือบางชนิดสร้างได้ในปริมาณที่ไม่มากพอที่ร่างกายต้องการ

สิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดมีความต้องการวิตามินที่แตกต่างกัน ยกตัวอย่างเช่นมนุษย์จำเป็นต้องได้รับวิตามินซี (Ascorbic Acid) จากอาหารที่รับประทานเข้าไปเพราะร่างกายไม่สามารถผลิตเองได้ แต่สำหรับสุนัขแล้วไม่จำเป็นเพราะสุนัขสามารถสังเคราห์วิตามินซีได้เองเพียงพอต่อความต้องการของมันแล้ว

มนุษย์จำเป็นต้องได้รับวิตามินดีจากการได้รับแสงแดด เพราะว่าปริมาณวิตามินดีในอาหารปกติจะมีไม่เพียงพอต่อความต้องการ อย่างไรก็ตามมนุษย์มีความสามารถในการสังเคราะห์วิตามินดีได้เองจากการได้ออกไปรับแสงแดดตามธรรมชาติ ปัญหาการขาดวิตามินดีจึงพบได้น้อยในบริเวณที่มีแสงแดดเพียงพอ

วิตามินแต่ละตัวมีบทบาทหน้าที่ต่อร่างกายแตกต่างกันไป และร่างกายก็ต้องการวิตามินแต่และชนิดในปริมาณที่แตกต่างกันไปด้วย

เกร็ดน่ารู้เกี่ยวกับวิตามิน

  • วิตามินที่รู้จักในปัจจุบันมีอยู่ 13 ชนิด
  • วิตามินสามารถแบ่งได้เป็นสองชนิดใหญ่ ๆ ตามคุณสมบัติการละลาย คือ วิตามินที่ละลายในน้ำ กับวิตามินที่ละลายในไขมัน
  • วิตามินที่ละลายในไขมัน ร่างกายสามารถกักเก็บไว้ได้ดีกว่าวิตามินที่ละลายในน้ำ
  • วิตามินที่ละลายในน้ำ ร่างกายจะไม่สามารถกักเก็บไว้ได้ และจะถูกขับออกทางปัสสาวะในเวลาไม่นาน
  • วิตามินเป็นสารออร์แกนิกหรือสารอินทรีย์ (Organic) เพราะมีคาร์บอนเป็นองค์ประกอบ
  • อาหารเป็นแหล่งของวิตามินที่ดีที่สุด แต่สำหรับบางคนอาจมีความจำเป็นต้องได้รับวิตามินในรูปแบบอาหารเสริมตามคำแนะนำของแพทย์หรือผู้เชียวชาญ

วิตามินคืออะไร?

ผักและผลไม้แหล่งที่ดีของวิตามิน
ผักและผลไม้แหล่งที่ดีของวิตามิน

วิตามินเป็นหนึ่งในกลุ่มของสารอินทรีย์ที่มีอยู่อาหารตามธรรมชาติในปริมาณที่นับว่าเพียงต่อร่างกาย  วิตามินมีความจำเป็นในกระบวนการเมตาโบลิซึม (Metabolism)ของร่างกาย ถ้าหากเรารับวิตามินไม่เพียงพอต่อร่างกาย แม้เพียงชนิดใดชนิดหนึ่ง อาจจะก่อให้เกิดอาการผิดปกติของร่างกายได้

สรุปได้ว่าวิตามินนั้นคือ:

  • สารประกอบอนินทรีย์ หรือ ออแกนิกส์ (Organic) ซึ่งหมายถึงสารที่มีคาร์บอนเป็นองค์ประกอบ
  • สารอาหารที่มีความจำเป็นต่อร่างการ และร่างกายไม่สามารถผลิตได้เองเพียงพอ จึงจำเป็นต้องได้รับจากอาหารที่รับประทานเข้าไป

 

ละลายในน้ำ VS ละลายในไขมัน

วิตามินแบ่งสองประเภทใหญ่ ๆ ตามคุณสมบัติการละลาย คือวิตามินที่ละลายในน้ำ กับวิตามินที่ละลายในไขมัน

วิตามินประเภทละลายในไขมัน

วิตามินที่ละลายในไขมันนั้นจะถูกร่างกายกักเก็บไว้เซลล์ไขมันและที่ตับ โดยวิตามินเหล่านี้สามารถคงอยู่ในร่างกายนานกว่าวิตามินที่ละลายในน้ำ โดยสามารถอยู่ในร่างกายได้นานหลายวันหรือบางทีสามารถอยู่ได้เป็นเดือน ๆ โดยไม่จำเป็นต้องได้รับวิตามินเพิ่มเติม

วิตามินที่ละลายในไขมันจะถูกร่างกายดูดซึมที่บริเวณสำไส้ โดยอาศัยไขมันในการช่วยดูดซึม ดังนั้นควรรับประทานอาหารที่มีไขมันร่วมด้วยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดูดซึม

วิตามินประเภทนี้ได้แต่ วิตามิน A , D, E และ K

วิตามินประเภทละลายในน้ำ

วิตามินที่ละลายในน้ำจะอยู่ในร่างกายในระยะเวลาไม่นาน เนื่องจากร่างกายไม่สามารถกักเก็บมันไว้ได้ และจะถูกขับออกมาพร้อมกับปัสสาวะ ดังนั้นวิตามินประเภทนี้ร่างกายควรได้รับอย่างสม่ำเสมอเพื่อป้องกันการขาดวิตามินได้

วิตามินประเภทนี้ได้แก่ วิตามิน C และ วิตามิน B ประเภทต่าง ๆ

ชนิดของวิตามิน

วิตามินที่เป็นที่รู้จักในปัจจุบันมี 13 ชนิดดังนี้

วิตามินเอ (Vitamin A)

ชื่อทางเคมี: เรตินอล (Retinol), แคโรทีนอยด์ (Carotenoids) รวมถึง เบต้าแคโรทีน (Beta Carotine)

  • เป็นวิตามินที่ละลายในไขมัน
  • ผลของการขาดแคลน อาจทำให้เกิดอาการ ตาบอดกลางคืน (Night Blindness)  อาการตาอ่อน (Keratomalacia) และ ความผิดปกติของตาเป็นผลให้กระจกตาแห้ง (Dry Cornea)
  • แหล่งที่พบ พบได้ในตับ น้ำมันตับปลา แครอท บล็อกเคอรี่ มันเทศ เนย คะน้า ผักโขม ฝักทอง ชีส ไข แคนตาลูป นม เป็นต้น

วิตามินบี1 (Vitamin B1)

ชื่อทางเคมี: ไทอามีน (Thiamine)

  • เป็นวิตามินที่ละลายในน้ำ
  • ผลของการขาดแคลน อาจทำให้เกิดอาการโรคเหน็บชา และความผิดปกติทางสมองที่เรียกว่า Wernicke-Korsakoff syndrome
  • แหล่งที่พบ  ยีสต์ เนื้อหมู ซีเรียล เมล็ดทานตะวัน ข้าวกล้อง ธัญพืชเต็มเมล็ด หน่อไม้ฝรั่ง ดอกกระหล่ำ มันฝรั่ง ส้ม ตับ และไข่ เป็นต้น

วิตามินบี2 (Vitamin B2)

ชื่อทางเคมี: ไรโบฟลาวิน (Riboflavin)

  • เป็นวิตามินที่ละลายในน้ำ
  • ผลของการขาดแคลน อาจทำให้เกิดแผลบริเวณมุมปาก ที่เรียกว่าปากนกกระจอก
  • แหล่งที่พบ  หน่อไม้ฝรั่ง กล้วย พลับ กระเจี๊ยบเขียว นม โยเกิร์ต เนื้อวัว ไข่ ปลา เป็นต้น

วิตามินบี3 (Vitamin B3)

ชื่อทางเคมี: ไนอาซิน (Niacin)

  • เป็นวิตามินที่ละลายในน้ำ
  • ผลของการขาดแคลน  อาจเกิดอาการ เพลลากรา (Pellagra) คือ ท้องร่วง (diarrhea) ผิวหนังอักเสบ (dermatitis) อาการทางประสาท (dementia) และตาย (death) ได้
  • แหล่งที่พบ  ตับ หัวใจ ไต เนื้อไก่ นื้อวัว ปลา นม ไข่ อโวคาโด อินผลัม มะเขือเทศ ผักกินใบ บล็อกโคลี่ แครอท มันเทศ หน่อไม้ฝรั่ง ถั่วต่าง ๆ ธัญพืชเต็มเมล็ด  เห็ด และ บริเวอร์ยีสต์ เป็นต้น

วิตามินบี5 (Vitamin B5)

ชื่อทางเคมี: กรดแพนโทเทนิก (Pantothenic Acid)

  • เป็นวิตามินที่ละลายในน้ำ
  • ผลของการขาดแคลน อาจเกิดอาการของโรคเหน็บชาที่มือและเท้า
  • แหล่งที่พบ  เนื้อสัตว์ ธัญพืชเต็มเมล็ด บล็อกโคลี่ อโวคาโด น้ำนมผึ้ง ไข่ปลา เป็นต้น

วิตามินบี6 (Vitamin B6)

ชื่อทางเคมี: ไพริด็อกซิน (Pyridoxine)

  • เป็นวิตามินที่ละลายในน้ำ
  • ผลของการขาดแคลน อาจะทำให้เกิดโรค โลหิตจาง ผื่นผิวหนังอักเสบจาก การอักเสบของต่อมไขมัน การอักเสบของปลายประสาท
  • แหล่งที่พบ เนื้อสัตว์ กล้วย ธัญพืชเต็มเมล็ด ผัก ถั่วชนิดต่าง นม เป็นต้น

วิตามินบี7 (Vitamin B7)

ชื่อทางเคมี: Biotin

  • เป็นวิตามินที่ละลายในน้ำ
  • ผลของการขาดแคลน อาจทำให้เกิดโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง เกิดอาการลำไส้อักเสบที่ลำไส้ได้
  • แหล่งที่พบ ไข่แดง ตับ และผักบางชนิด

วิตามินบี9 (Vitamin B9)

ชื่อทางเคมี: กรดโฟลิค (Folic acid)

  • เป็นวิตามินที่ละลายในน้ำ
  • ผลของการขาดแคลน  อาจเกิดความผิดปกติของทารกในครรภ์ ผู้ตังครรภ์ควรได้รับ กรดโฟลิคอย่างเพียงพอตลอดทั้งปีก่อนตั้งครรภ์
  • แหล่งที่พบ ผักใบเขียวต่า่ง ๆ ถั่วชนิดต่าง ๆ ตัว ยีสต์ เมล็ดทานตะวัน ผลไม้บางชนิด เบียร์เป็นต้น

วิตามินบี12 (Vitamin B12)

ชื่อทางเคมี: โคบาลามิน (Cobalamin), (Methylcobalamin) , ไซยาโนโคบาลามิน (Cyanocobalamin), ไฮดรอกโซโคบาลามิน (Hydroxocobalamin)

  • เป็นวิตามินที่ละลายในน้ำ
  • ผลของการขาดแคลน อาจทำให้เกิดภาวะโลหิตจางชนิดหนึ่ง ที่เกิดจากไขกระดูกสร้างเม็ดเลือดแดงผิดปกติ มีขนาดใหญ่ เมื่อออกจากไขกระดูกเข้าสู่กระแสโลหิต จึงมีอายุสั้นกว่าเม็ดเลือดแดงทั่วไป เพราะจะถูกทำลายที่ม้าม ส่งผลให้จำนวนเม็ดเลือดแดงลดน้อยลง จึงเกิดภาวะโลหิตจาง
  • แหล่งที่พบ include: ตับ ไต นม ไข่แดง ชีส ปลา เนื้อหมู เนื้อวัว อาหารหมักดอง เป็นต้น

วิตามินซี (Vitamin C)

ชื่อทางเคมี: กรดแอสคอร์บิก (Ascorbic acid)

  • เป็นวิตามินที่ละลายในน้ำ
  • ผลของการขาดแคลน อาจทำให้มีอาการอ่อนเพลียเบื่ออาหาร ปวดตามข้อต่อของร่างกาย เลือกออกตามไรฟัน เจ็บกระดูก เป็นแผลหายช้า
  • แหล่งที่พบ ผักและผลไม้ทั่วไป โดยเฉพาะผลไม้รสเปรี้ยว

วิตามินดี (Vitamin D)

ชื่อทางเคมี: เออโกแคลซิเฟอรอล (Ergocalciferol),  โคเลแคลซิเฟอรอล(Cholecalciferol)

  • เป็นวิตามินที่ละลายในไขมัน
  • ผลของการขาดแคลน may cause rickets and osteomalacia, or softening of the bones. อาจทำให้เกิดภาวะ กระดูน่วม กระดูกอ่อน กระดูกพรุน ปวดกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้ออ่อนแรง กล้ามเนื้อกระตุก
  • แหล่งที่พบ ได้รับจากการสังเคราะห์ที่ผิวหนังเมื่อโดนแสงแดดอ่อน ๆ และอาหารบางชนิดเช่น ปลาที่อุดุมไปด้วยไขมัน ไข่ เนื้อวัว ตับ และเห็ด เป็นต้น

วิตามินอี (Vitamin E)

ชื่อทางเคมี: โทโคฟีรอล (Tocopherols)

  • เป็นวิตามินที่ละลายในไขมัน
  • ผลของการขาดแคลน โดยปกติจะไม่พบการขาดวิตามินอีจากการขาดสารอาหาร แต่มักพบจากความผิดปกติในการดูดซึมไขมัน เช่น การทำงานของตับ ตับอ่อน และลำไส้ผิดปกติ หรือมีโรคทางพันธุกรรม เช่น โรคที่มีอาการผิดปกติของระบบประสาท (เดินเซ) ร่วมกับการขาดวิตามินอี (ataxia with vitamin E deficiency) นอกจากนี้ยังพบการขาดวิตามินอีได้ในทารกคลอดก่อนกำหนดหรือน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ปกติ
  • แหล่งที่พบ พืชผัก ผลไม้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งส่วนที่จะเจริญเป็นต้นใหม่ (germ) เมล็ดพืช หรือ ธัญพืช แต่ก็พบว่าออกซิเจนและความร้อนสามารถทำลายวิตามินอีได้ รวมไปถึงการแช่แข็งเป็นเวลานาน ก็ทำให้เกิดการสูญเสียวิตามินอีได้เช่นกัน

วิตามินเค (Vitamin K)

ชื่อทางเคมี: ฟิลโลควิโนน (Phylloquinone)

  • เป็นวิตามินที่ละลายในไขมัน
  • ผลของการขาดแคลน อาจเกิดอาการเลือกไม่แข็งตัว โดยเฉพาะหากคุณแม่มีภาวะขาดวิตามินเค อาจจะส่งผลทำให้ลูก เกิดภาวะเลือดไม่แข็งตัว มีเลือดออกในช่องกะโหลก ลำไส้ หรือมีเลือดออก บริเวณผิวหนังได้
  • แหล่งที่พบ include: leafy green vegetables, avocado, kiwi fruit. Parsley contains a lot of vitamin K. พบมากในอาหารประเภทผักใบเขียว อโวคาโด กีวี นอกจากนี้ยังพบในเนื้อสัตว์ นม เนย น้ำมันมะกอก น้ำมันถั่วเหลือง กาแฟ และแพร์